ความเป็นมาของโครงการ D.A.R.E. ประเทศไทย
- รายละเอียด
- หมวด: D.A.R.E.Thailand
- เผยแพร่เมื่อ: วันอังคาร, 24 กุมภาพันธ์ 2558 21:46
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 5930
อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรว่าการกระทรวงมหาดไทย ( พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ) พร้อมด้วยอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( พอตำรวจเอก ประชา พรหมนอก) และคณะได้เดินทางไปเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาดูงานแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามคำเชิญของหน่วยงานปราปปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกา ( DEA ) ระหว่างวันที่ 11-19พฤศจิกายน 2541 และได้สรุปผลการเยือนสหรัฐอเมริกานำเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อทราบแลพิจารณา โดยประเด็นหนึ่งได้รายงานว่าสหรัฐอเมริกาได้จัดโครงการ D.A.R.E (Drug Abuse Resistance Education ) ขึ้น โดยส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งผ่านการอบรมพิเศษไปให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยของยาเสพติดแก่เยาวชนในสถานศึกษาให้รู้จักแนวทางการปฏิเสธยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และเห็นว่าโครงการในลักษณะนี้ ฝ่ายไทยน่าจะนำมาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมได้โดย DEA พร้อมที่จะจัดผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยในโอกาสแรกต่อไป
กระทรวงมหาดไทย โดยปลัดกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือที่ มท.02143/135 ลงวันที่ 25 มกราคม 2542 เรียนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตื แจ้งวว่าการที่กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี รายงานผลการเดินทางเยือนประเศสหรัฐอเมริกาของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นั้น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วไดโปรดมีบัญชาว่า เห็นควรให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดการขอความร่วมมือหน่วยงาน DEA ในเรื่องการฝึกอบรมพิเศษ ต่อมาผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฝ่ายปฏิบัติการพเศษ ( พลตำนรวจโท นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ) มีคำสั่งลงวันที่ 31 มีนาคม 2542 ให้กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดดำเนินการให้เป็นไปตามบัญชาของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ภายหลังจากที่กองบํญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดได้รับคำสั่งมอบหมายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว ก็ได้เริ่มติดต่อประสานงานกับองค์กร D.A.R.E. international ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารงานโครงการ D.A.R.E. โดยเฉพาะ ต่อมาไม่นาน โครงการการศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียน หรือโครงการ D.A.R.E ประเทศไทยก็เกิดขึ้น
โครงการ D.A.R.E. ในสหรัฐอเมริกา
D.A.R.E. (Drug Abuse Resistance Education ) เป็นหลักสูตรป้องกันยาเสพติด ซึ่งพัฒนาโดยนักวิชาการด้านการศึกษา และสอนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบ โครงการนี้เป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่งเนื่องจากเป็นการรวมพลังของสถาบันที่มีบทบาทสำคัญในสังงคมสองสถาบันเข้าด้วยกัน ได้แก่ สถาบันตำรวจและสถาบันการศึกษา
ลักษณะ เป็นหลักสูตรระดับชาติสำนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ ตำรวจในเครื่องแบบเป็นผู้สอน สาระของหลักสูตร คือการต่อต้านการใช้ยาเสพติด ต่อต้านการตั้งแก๊งและต่อต้านการใช้ความรุนแรง เป็นหลักสูตรที่เหมาะสมกับนักเรียนทั่วโลก
ที่ทำการศูนย์ เมืองลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ก่อตั้ง เมื่อ กันยายน ค.ศ. 1983
พัฒนาการ เริ่มจากความร่วมมมือระหว่างกรมตำรวจเมืองลอสแอเจลิส (LAPD) กับเขตการศึกษาร่วมเมืองลอสแองเจลิส
ภารกิจ เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารและทักษะที่จำเป็นแก่เด็กให้สามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับเสพติดหรือการใช้ความรุนแรง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และสมาชิกอื่นๆ ในชุมชน
หลักสูตร พัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขศึกษาของเขตการศึกษาร่วมเมืองลอสแองเจลิส ( LAUSD )เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษจะทำหน้าที่เป็นผู้สอนในหลักสูตรเกี่ยวกับการต่อต้านการใช้ยาเสพติด และวิธีการหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง เนื้อหามุ่งที่
1. การให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุราและยาเสพติด
2. สอนให้เด็กนักเรียนได้รู้จักใช้ทักษะในการตัดสินใจ
3. แนะนำให้เด็กได้รู้วิธีการที่จะต่อต้านอิทธิพลกดดันของกลุ่ม ( peer presure ) และ
4. ให้แนวความคิดเด็กเกี่ยวกับทางเลือกอื่นๆนอกเหนือจากการใช้ยาเสพติดและการใช้ความรุนแรง
กลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล จนถึง Grade 12
ประเทศและรัฐที่ใช้โครงการ D.A.R.E. 50 มลรัฐในสหรัฐอเมนริกา และ 32 ประเทศทั่วโลก
เจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมแล้ว กว่า 33,000
จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ กว่า 26 ล้านคน ใน 300,000
แผนการสอน หลักสูตร D.A.R.E. ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 5 ส่วน
- เตรียมอนุบาล ถึง Grade 4:4 บทเรียนสำหรับอนุบาล-Grade 2 และ 5บทเรียน สำหรับ Grade 3-4
- Grade 5/Grade 6:17 บทเรียน
- Junior high/Middle school : 10 บทเรียน
- High school :6 บทเรียนและ 3 บทเรียนติดตาม โดยครู
- โครงการสำหรับผู้ปกครอง : 6 บทเรียน
งบประมาณ จัดสรรโดย D.A.R.E. America จากการบริจาคของเอกชนและบริษัท
ผลสำเร็จของโครงการ รายงานการวิจัยการประเมินผลกว่า 30 รายงาน ชี้ให้เห็นว่าเด็กนักเรียนที่ผ่านโครงการนี้ได้เรียนนรู้การต่อต้านยาเสพติดและความรุนแรง ผลการศึกษาวิจัยล่าสุด โดยมหาวิทยาลัย Ohio State ก็ได้ผลสรุปเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นยังพบว่าการทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน การขาดหนีโรรงเรียนและพฤติกรรมในลักษณะแก๊งลดลง ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเชื้อชาติดีขึ้น เด็กนักเรียนเกิดทัศนคติที่ดีตำรวจและโรงเรียน
ในการกล่าวถึงความจำเป็นของการขยายโครงการป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน เอกสารยุทธศาสตร์การควบคุมปัญหายาเสพติดของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาประจำปี ค.ศ.1997 ได้หยิบยกโครงการ D.A.R.E. ขึ้นเป็นตัวอย่างของโครงการที่ได้ผลดี
ประเทศใดที่มีโครงการ D.A.R.E.
จากข้อมูลที่ปรับปรุงล่าสุด เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ขณะนี้โครงการ D.A.R.E. มีแพร่หลายอยู่ในหลายประเทศต่างๆ 32 ประเทศ นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา ดังนี้
Agentigua | Barbuda | Honduras | Dominica | Sweden | Australia | Hungary | El Salvador |
Thailand | Barbados | Jamaica | Finland | Trinidad | Tobago | Belgium | Mexico |
Grenada | United Kingdom | Bolivia | Montserrat | Guatemala | Brazil | New Zealand | Guyana |
Canada | Norway | Cayman | Islands | Philipines | Chile | St. Christopher | Nevis |
Colombia | St. Lucia | Costa Rica | St. Vincent | Grenadines |
โครงการการศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียน ( D.A.R.E.ประเทศไทย)
ความเป็นมาของโครงการ D.A.R.E.ประเทศไทย
รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ( พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ) พร้อมด้วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ) ในขณะนั้น และคณะเดินทางไปเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาดูงานการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามคำเชิญของหน่วยปราปปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกา ( DEA ) ระหว่างวันที่ 11-19 พฤศจิกายน 2541 และรายงานสรุปผลการเยือนสหรัฐอเมริกา นำเรียน นายกรัฐมนตรีเพื่อทราบและพิจารณา โดยประเด็นหนึ่งได้รายงานว่าสหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการโครงการ D.A.R.E. (Drung Abuse Resistance Education ) โดยให้เจ้เาหน้าที่ตำรวจซึ่งผ่านการอบรมไปให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยของยาเสพติดแก่เยาวชนในสถานศึกษาให้รูจักแนวทางการปฏิเสธยาเสพติดอย่างเด็ดขาดและเห็นว่าโครงการลักษณะนี้ฝ่ายไทยน่าขจะนำมาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมได้โดย DEA พร้อมที่จะจัดผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมให้แก่ข้าราชการตำรวจไทยในโอกาสแรก
หลักการสำคัญของโครงการ D.A.R.E. คือการให้ข้อมูลและทักษะที่จำเป็นแก่เด็ก เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้โดยปราศจากยาเสพติดและความรุนแรง สร้างสัมพันรธภาพที่ดีระหว่างตำรวจ เด็กนักเรียน ครู บิดามารดา และสมาชิกในชุมชน
หลักสูตร D.A.R.E. ได้รับการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขศึกษา โดยให้ข้าราชการตำรวจที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียน( หลักสูตร D.A.R.E ) ทำการสอนเด็กนักเรียนให้เข้าใจถึงวิธีการในการหลีกเลี่ยงและปฏิเสธสิ่งเสพติดต่างๆ และความรุนแรงโดยยมุ่งเน้น
1.ให้เด็กนักเรียนได้รับทราบข้อมูลที่เที่ยงตรงเกี่ยวกับยาเสพติดและสุรา
2.ให้เด็กนักเรียนเกิดทักษะในการตัดสินใจ
3.ให้เด็กนักเรียนรู้ถึงวิธีการหลีกเลี่ยงแรงกดดันจากกลุ่มเพื่อน
4.ให้เด็กนักเรียนรู้จักทางเลือกที่มีประโยชน์อื่นๆนอกเหนือจากการใช้ยาเสพติดและความรุนแรง
กระทรวงมหาดไทยโดยปลัดกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือที่ มท.0214.3/135 ลงวันที่ 25 มกราคม 2542 เรียนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แจ้งว่าตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือกราบเรียน นายกรัฐมนตรีรายงานผลเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรรวงมหาดไทย นั้น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วได้มีดำริเห็นควรให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดขอความร่วมมือหน่วยงาน DEA ในเรื่องการฝึกอบรมพิเศษ
ต่อมาผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติฝ่ายปฏิบัติการพิเศษ (พลตำรวจโท นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ) มีคำสั่งลงวันที่ 31 มีนาคม 2542 ให้กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ดำเนินการให้เป็นไปตามดำริของนายกรัฐมนตรี
สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความมั่นคงภายในและความสงบเรียบร้อยของสังคม นอกเหนือจากความรับผิดชอบด้านการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันเป็นหน้าที่หลักแล้ว สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังมีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้ามาร่วมการดำเนินการใช้ในด้านป้องกันยาเสพติดได้อีกส่วนหนึ่ง ภายหลังจากที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดได้รับมอบหมายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว ได้ดำเนินการประสานงานกับองค์กร D.A.R.E.International ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารโครงการ D.A.R.E โดยเฉพาะ โครงการการศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียนหรือ โครงการ D.A.R.E. ประเทศไทย